Cute Grapes 2

Diary 5

Diary no. 5 Tuesday, 05 Septamber 2560

                                                       บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 
     การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 5  กันยายน  พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 
_____________________________________________________________________


การจัดการเรียนการสอน
          ครูผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนทราบถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนจับกลุ่มระดมความคิดและสรุปตามความเข้าใจของกลุ่ม โดยมีทฤษฎีดังนี้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์


1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 

    ทฤษฎีของเพียเจย์ตั้งอยู่บนรากฐานสองสิ่งคือ
                            ↙        ↘
              พันธุกรรม              สิี่งแวดล้อม


เพียเจต์ได้อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขาไว้ว่า  การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะพัฒนาไปตามช่วงวัยอย่างเป็นลำดับขั้น ดังนั้นพัฒนาการจึงเป็นสิ่งที่จะพัฒนาไปอย่างเป็นธรรมชาติ เราจึงไม่ควรไปเร่งให้เด็กข้ามไปอีกขั้น แต่ต้องปล่อยให้เด็กข้ามตามขั้นพัฒนาการด้วยตนเอง เพราะหากเร่งจะเกิดผลเสียกับตัวเด็กเอง


ทฤษฎีการเรียนรู้ของเพียเจต์ 
   ทฤษฎีการเรียนรู้ของเพียเจต์แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ด้วยกัน และที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยมีเพียง 2 ขั้น โดยเพียเจต์แบ่งลำดับขั้นตามช่วงอายุ ดังนี้
      1. ขั้นประสาทรับรู้และขั้นสัมผัส (Sensori-Motor Stage) เริ่มต้นตั้งแตาแรกเกิดจนถึง 2 ปี 
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยงกับการเคลื่อนไหว และมีการแสดงออกทางร่างกาย ทำให้เห็นว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ทางสติปัญญาจากการกระทำ พัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ ความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา เช่น การที่เด็กจะหยิบของ เด็กต้องจำนวนว่าต้องต้องยื่นมือไปเท่าไรจึงจะถึงของพอดี เป็นการทำงานที่ประสานกันระหว่างตาและมือ  และพยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก
     2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี
แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น
          ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought)  เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี 
เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  ดังนั้นความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามหลักความเป็นจริง
         ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี  เข้าใจความหมายของจำนวนเลข สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน 
    3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
สติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล
    4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี
พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง


ประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition)  มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน


กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล


🐠🐡🐠🐡🐠🐡🐠🐡🐠🐡🐠🐡

2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
แนวคิดของบรุนเนอร์
1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน
3. พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาจะเห็นได้ชัดโดยที่ผู้เรียนสามารถรับสิ่งเร้าที่ให้เลือกได้หลายอย่างพร้อมๆ กัน


พัฒนาการทางปัญญาของบรูเนอร์ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. เอนแอคทีฟ (Enactive mode) วิธีการเรียนรู้ในขั้นนี้จะเป็นวิธีที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการสัมผัส จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง รวมถึงการใช้ปากกับวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เด็กจะต้องลงมือกระทำด้วยตนเอง
2. ไอคอนนิค (Iconic mode) เมื่อเด็กสามารถที่จะสร้างจินตนาการ หรือมโนภาพ (Imagery)ขึ้นในใจได้ เด็กจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆในโลกได้ด้วย Iconic mode  ดังนั้นในการเรียนการสอนเด็กสามารถที่จะเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนของการสัมผัสจากของจริง
3. วิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ หรือ Symbolic mode วิธีการนี้ผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้ เมื่อผู้เรียนมีความสามารถที่จะเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม


🍡🍗🍡🍗🍡🍗🍡🍗🍡🍗🍡🍗🍡🍗


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เด็กแต่ละคนมีควาต่างกัน อันเนื่องมาจากการเลี้ยงดูและการส่งเสริมที่   ดังนั้นเมื่อเห็นเด็กที่มีพัฒนาการที่ต่างไปจากเพื่อนไม่ควรที่จะไปเร่งให้เขาต้องทำให้ทันเพื่อนแต่ควรที่จะส่งเสริมในขั้นที่เขาเป็นอยู่เพื่อเขาพัฒนาไปตามลำดับขั้นพัฒนาการ และต้องเข้าใจในความต่ากของแต่ละบุคล 

การประเมิน
ผู้สอน : ให้อิสระในการค้นคว้าหาความรู้ และให้ความรู้เพิ่มเติมจากการนำเสนอ
ผู้เรียน : ให้ความร่วมมือกับการทำงานกลุ่มอย่างเต็มที่ ใช้เวลาในการค้นคว้าอย่างคุ้มค่า
สภาพแวดล้อม : เหมาะแก่การเรียน มีอุปกรณ์ที่ต้องการจะใช้ในการทำงานได้ครบทุกอย่าง 
ผู้ร่วมเรียน : มีการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจในหัวข้อที่ได้รับและแบ่งงานกันทำ 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล 

🎷🎵🎷🎵🎷🎵🎷🎵🎷🎵🎷🎵🎷🎵

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น