บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30
_____________________________________________________________
และยังมีอีกหลายเรื่อง
ประเมิน
ผู้สอน : ให้ความรู้และนำแนะนำพร้อมชี้แนวทางในการศึกษาในหัวข้อเรื่องอย่างดี
ผู้ร่วมเรียน : มีความสนใจเรียน ร่วมกันทำงานเต็มความสามารถ
ผู้เรียน : รับฟังข้อเสนอแนะและปรับตามความเหมาะสม
เวลา 8.30 - 12.30
_____________________________________________________________
เนื้อหาที่สอน
มาดูกันว่าเรื่องที่จะใช้สอนเด็กนั้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร แล้วตรงกับกรอบมาตรฐานหรือไม่ เรามาดูเรื่องของข้าวกันเลย
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต
ก็คือปัจจัยที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ไปได้ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย อากาศ
ในส่วนข้อข้อนี้เราจะมาแยกให้เห็นจะอยู่ในส่วนใดของเรื่อง ข้าว
ก็จะอยู่ในส่วนของ ปัจจัยในการดำรงชีวิตของข้าว มีดังนี้ ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด การให้ปุ๋ย
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ก็คือจะทำอย่างไรให้สิ่งมีชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้
เช่น การขยายพันธุ์ และการขยายพันธุ์ของข้าวทำได้โดยการเพาะ หว่าน ดำ
ประโยชน์ของข้าว ให้พลังงาน ให้อาชีพ เป็นอาหาร
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
ก็คือต้องเรียนรู้ถึงรูปร่างลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของรูปสาร
เช่น ลักษณะของข้าว ส่วนประกอบของข้าว การนำไปแปรรูป การนำไปทำอาหาร
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
ก็คือการที่มีสิ่งมากระทำกับวัตถุ จนเกิดการเคลื่อนย้ายตำแหน่ง
เช่น การที่ร่วงข้าวโน้มตัวลงพื้นดิน นั้นเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก
สาระที่ 5 พลังงาน
ก็คือพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน
เช่น คาร์โบไฮเดรต ส่วนการเปลี่ยนรูปก็เช่น การเคี้ยวข้าว
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลก เช่นการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
เช่น ถ้าน้ำฝนน้อยทำให้ต้นข้าวดำรงชีวิตได้ยาก
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวการ
ก็คือ ความสัมพันธ์ของระบบสุริยะที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต
เช่น ในฤดูหนาวที่กลางวันจะสั้น
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
เช่น การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการวางแผนงาน
ประเมิน
ผู้สอน : ให้ความรู้และนำแนะนำพร้อมชี้แนวทางในการศึกษาในหัวข้อเรื่องอย่างดี
ผู้ร่วมเรียน : มีความสนใจเรียน ร่วมกันทำงานเต็มความสามารถ
ผู้เรียน : รับฟังข้อเสนอแนะและปรับตามความเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น