Cute Grapes 2

Diary 11


Diary no. 11 Tuesday, 24 October 2560

                                                    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
     การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
   Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 24  ตุลาคม  พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 
_____________________________________________________________

เรื่อง อินดิเคเตอร์จากพืช 

การอินดิเคเตอร์ คือ สารที่เปลี่ยนสีได้เมื่อสัมผัสสารอื่นที่เป็นกรดหรือเบส โดยไม่ต้องชิมสาร

แนวคิดคือ  เมื่อผสมกับกรดน้ำกะหล่ำปลีม่วงจะเปลี่ยนจากสีม่วงแดงเป็นแดงเข้ม

อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
      - เนื่องจากกะหล่ำปลีม่วงมีสารสีคือ แอนโทไซยานิน เมื่อนำมาละลายน้ำจะได้สารสีแดงม่วงหรือน้ำเงินเข้ม และสารนี้จะตอบสนองต่อกรด เมื่อสัมผัสกรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และการที่น้ำกะหล่ำปลีม่วงเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเข้มนั้นแสดงว่าน้ำมะนาวมีกรดสูง
    - น้ำโซดา มีกรดคาร์บอนิก กรดคาร์บอนิกเกิดจากการอัดก๊าชคาร์บอนไดออกไซร์ด้วนแรงดันสูงลงในน้ำและเมื่อเปิดฝาจะแตกตัวเป็น น้ำและ ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ สารแอนโทไซยานินตอบสนองได้ดรต่อกรด จึงทำให้น้ำกะหล่ำปลีม่วงเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง แม้ว่าน้ำโซดาจะไม่มีรสเปรี้ยวก็ตาม
    - ลมหายใจเขาเราก็ประกอบไปด้วยก๊าชคาร์บอไดออกไซด์ จึงทำปฏิกริยากับน้ำกะหล่ำปลีม่วง ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงแดง 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น