Cute Grapes 2

Diary no.2

Diary no.2 Tuesday, 15 August 2560   


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560
เวลา 8.30 - 12.30 น.
______________________________________________________________

ครูผู้สอนให้สืบค้นหาสถานที่ ที่สนใจ อยากเรียนรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ พร้อมนำเสนอถึงเหตุผลที่เลือกสถานที่มีอะไรน่าสนใจ และจะสามารถจัดกิจกรรมอะไรได้หากเราจะพาเด็กไปเรียนรู้ นอกจากนี้ครูผู้สอนได้ให้แบ่งกลุ่ม 4-5 คน เพื่อสืบค้นข้อมูล ตามหัวข้อ ดังนี้
👉 ความหมายความสำคัญของวิทยาศาสตร์
👉 พัฒนาการเด็กปฐมวัย
👉 จิตวิทยาการเรียนรู้
👉 แนวคิดของนักการศึกษามี่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
👉 หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ 

                            🐣🐤🐣🐤🐣🐤🐣🐤🐣🐤🐣🐤🐣🐤🐣🐤🐣🐤🐣🐤🐣🐤

จิตวิทยาการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้ 
               ครอนบาค (Cronbach, 1965) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับ
                อุบลรัตน์  เพ็งสถิต ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงโดยสิ่งเร้า และการตอบสนองบ่ายครั้งเข้า จนมนที่สุดกลายเป็นพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นมาอย่างถาวร
                สงวน  สุทธิเสิศอรุณ  ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์
✦✦สรุปได้ว่า✦✦ ความหมายของการเรียนรู้ได้ว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมา

ทฤษฎีการเรียนรู้ 

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง Connectionism  



เอ็ดเวิร์ด แอล ธรอนไดร์ Edward L Thorndike   ซึ่งมีหลักการว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองได้หลายทาง แต่จะเลือกตอบสิ่งที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งเดียวหรือจะกล่าวได้ว่าการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
การทอลองของธรอนไดค์ จับแมวที่กำลังหิวจัดขังไว้ในกรงปริศนาที่มีคานกลอยู่ ถ้าแมวเหยียบคาลกลแล้วจะทำให้ประตูเปิดออก แมวก็จะได้กินอาหาร

จากการทดลองธรอนไดค์ได้นำผลการทดลองมาตั้งเป็นกฎแห่งการเรียนรู้ 3 กฎ
1. กฎแห่งความพร้อม
                1.1 ถ้าบุคคลพร้อมแล้วกระทำ จะทำให้เกิดความพอใจ
                1.2 ถ้าบุคคลพร้อมแล้วไม่ได้กระทำ จะทำให้เกิดความรำคาญใจ
                1.3 ถ้าบุคคลไม่พร้อมแต่ถูกบังคับให้กระทำ จะทำให้เกิดความรำคาญใจ
2. กฎแห่งการฝึกหัด
3. กฎแห่งผล 

ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขแบบคลาสสิค classic conditioning theory


                ไอวาน พี พาฟลอฟ Ivan P. Pavlov มีหลักการว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่อินทรีย์ได้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลายชนิดโดยที่การตอบสนองอย่างเดียวกัน อาจมาจากสิ่งเร้าที่ต่างกัน หากมีการวางเงื่อนไขที่แน่นแฟ้นเพียงพอ
                การทดลองคือ สั่นกระดิ่งพร้อมกับยื่นผงเนื้อให้หมาก็จะน้ำลายไหล ทำหลายๆครั้ง ทำให้หมาเกิดการเรียนรู้ว่าหากสั่นกระดิ่งก็จะมีผงเนื้อ


ทฤษฎีการเรียนรู้เงื่อนไขแบบการกระทำ Operant Conditioning Theory


                เบอร์ฮัส เอฟ สกินเนอร์ Burrhus F. Skinner มีหลักการว่า  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้มีการกระทำแล้วได้รับการเสริมแรง
               การทดลองครั้งนี้สกินเนอร์แสดงให้เห็นถึงลักษณะการเรียนรู้อีกแบบหนึ่งเรียกว่ากรเรียนรู้แบบแผ่ขยาย (generalization) คือ ระยะแรกหนูไม่ได้สังเกตว่าการกดแล้วได้กินอาหารจะต้องมีไฟสว่างขึ้นด้วย ถ้ากดแล้วไม่มีไฟสว่างอาหารก็จะไม่ตกลงมา ต่อมาหนูเริ่มเรียนรู้ว่ากดแล้วต้องมีไฟสว่างทุกครั้งจึงจะได้กินอาหาร (discrimination) และต่อมาสกินเนอร์เปลี่ยนเงื่อนไขใหม่คือเลิกให้อาหาร เขาพบว่าหนูกดคานเพียงไม่กี่ครั้ง มันก็เลิกกด (extinction)



สกินเนอร์กล่าวว่าการวางเงื่อนไขจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยการเสริมแรง 

การทดลองเรื่องการเกิดการหยั่งรู้ หรือ insight

โคห์เลอร์ได้ทำการทดลองเพื่ออธิบายให้เห็นถึงกระบวนการเกิดการหยั่งรู้โดยใช้ลิงชิมแปนซีชื่อ สุลต่านเป็นสัตว์ทดลองเขาจับสุลต่านขังไว้ในกรงซึ่งมีของเล่นต่างๆหลายอย่าง พร้อมกับไม้สั้นๆท่อนหนึ่ง ซึ่งโดยธรรมชาติของลิงมักจะไม่อยู่เฉยๆ สุลต่านจึงเล่นของเล่นที่มีอยู่ในกรง ของชิ้นใดอยู่ไกลมันก็จะใช้ไม้เขี่ยมาเล่น ต่อมาโคห์เลอร์นำกล้วยมาวางไว้นอกกรงในระยะที่สุลต่านไม่สามารถใช้ไม้ท่อนสั้นที่เคยใช้ประจำเขี่ยได้ โดยโคห์เลอร์ได้วางไม้ท่อนยาวที่สุลต่านสามารถใช้เขี่ยกล้วยได้ถึง แต่เขาก็วางไม่ท่อนยาวไว้ในระยะที่สุลต่านต้องใช้ไม้ท่อนสั้นเขี่ยจึงจะหยิบไม้ท่อนยาวได้ เมื่อเขานำสุลต่านมาไว้ในกรง เขาสังเกตว่าครั้งนี้สุลต่านไม่สนใจของเล่นแต่พยายามใช้ไม้ท่อนสั้นที่เคยใช้ประจำเขี่ยกล้วยแต่ก็เขี่ยไม่ถึง สุลต่านจึงทิ้งไม้แล้วไปนั่งที่มุมกรง มันนั่งมองสิ่งต่างๆรอบตัวสักพักหนึ่ง โคห์เลอร์เห็นสุลต่านลุกพรวดพราดขึ้นมาคว้าไม้ท่อนสั้นไปเขี่ยไม้ท่อนยาวแล้วนำไม้ท่อนยาวมาเขี่ยกล้วย การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าสุลต่านมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าต่างๆในปัญหา โดยนำประสบการณ์เดิมที่เคยใช้ไม้ท่อนสั้นเขี่ยกล้วยมาสัมพันธ์กับสถานการณ์ใหม่ เกิดความกระจ่างในวิธีแก้ปัญหาจึงลุกพรวดพราดมาใช้ไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้ท่อนยาวแล้วเขี่ยกล้วยมากินได้ทันที ซึ่งเป็นลักษณะการแก้ปัญหาที่ต่างจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่มักใช้วิธีลองผิดลองถูกและการวางเงื่อนไข โดยไม่สนใจกลไกทางสมอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ :  นำไปปรับใช้กับการสอนเช่นก่อนจะเริ่มดำเนินการสอน ครูจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมและกระตุ้นให้เด็กพร้อมที่จะเรียนเสียก่อน โดยมีการนำเข้าสู้บทเรียนทุกครั้งและก่อนจะสอนครูต้องจูงใจให้นักเรียนตั้งใจและมีความสนใจที่จะเรียน
 ประเมิน 
ผู้สอน : มอบหมายงานที่เป็นประโยชน์แก่ตัวนักศึกษาและให้คำแนะนำในการทำงานเสมอ
ผู้ร่วมเรียน : ช่วยกันหาแนวทางในการหาข้อมูลและกำหนดแผนการทำงานร่วมกันอย่างรอบคอบ
ผู้เรียน : เสนอความคิดเห็นตามความเหมาะสมในการหาข้อมูลและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

อ้างอิง 

อัชรา เอิบสุขสิริ.จิตวิทยาสำหรับครู.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:บริษัท วี.พริ้น(1991) จำกัด,2557.หน้า 108-143


ผศ.วรรณี ลิมอักษร.จิตวิทยาการศึกษา,พิมพ์ครั้งที่ 4.สงขลา:บริษัทนำศิลป์โฆษณาจำกัด,2551,หน้า 47-48


ศาสตาจารย์ดร.ศรีเรือน. แก้วกังวาล,จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัยแนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง,พิมพ์ครั้งที่9,กรุงเทพฯ:บริษัทพิมพ์ดี จำกัด,2549,หน้า 4


มาลี จุฑา . จิตวิทยาการสอน . พิมพ์ครั้งที่ 4 . กรุงเทพฯ : หจก. ทิพยวิสุทธิ์,2542 หน้า 55- 91







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น